บริษัท ไอ.ที.พี. ฟาร์มาร์แลป จำกัด
092-812-1000
itp.pharmarlab@gmail.com
ติดต่อเราได้ที่
บริษัท ไอ ที พี ฟาร์มาร์แลป จำกัด
บทบาทของเชื้อ EHP ต่อการเกิดโรคขี้ขาว

ความสำคัญและที่มาของปัญหา

ในปัจจุบันพบว่าได้มีการเกิดโรคขี้ขาว (White feces syndrome) ขึ้นอย่างแพร่หลายในกุ้งขาวแวนนาไม ซึ่งเป็นกุ้งทะเลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย สามารถพบโรคนี้ได้หลายพื้นที่ของการเลี้ยงในประเทศไทย และพบได้หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ จีนเวียดนาม ไทย อินโดนีเซีย อินเดีย และมาเลเซีย เชื้อก่อโรคที่มีความสำคัญในการเกิดโรคขี้ขาวคือเชื้อ EHP (Enterocytozoon hepatopenaei) ซึ่งเมื่อกุ้งติดเชื้อ EHP เชื้อจะขยายพันธุ์อยู่ในตับและตับอ่อน ทำให้เซลล์ตับลดลงเพราะกลายเป็นที่อยู่ของ EHP พบเชลล์เยื่อบุท่อตับหลุดลอกมาก และเซลล์ตับที่พบสปอร์ EHP ปริมาณมากถูกขับหลุดลอกออกจากตับ & ตับอ่อนเห็นเป็นขี้ขาวในลำไส้หรือขี้ขาวลอยในบ่อ   เนื่องจากเซลล์ตับและตับอ่อนมีน้อยลงทำให้ลดการสร้าเอนไซม์น้ำย่อย หรือการช่วยสะสมสารอาหารแหล่งพลังงานลดลง ส่งผลให้กุ้งขาดสารอาหาร มีปัญหาสุขภาพอ่อนแอตามมาจึงผอมและโตช้า นอกจากนี้เชื้อ EHP ยังมีผลต่อระบบเลือดทำให้ภูมิคุ้มกันโรคลดลงทำให้ท่อตับฝ่อดำ ส่งผลให้ระบบอื่นๆของตัวกุ้งมีความบกพร่อง และอาจส่งผลต่อการขจัดสารพิษหรือของเสียออกจากเซลล์ได้ลดลง อาการกุ้งที่สังเกตได้คือเปลือกบาง พบบางตัวกล้ามเนื้อขาวขุ่นเหมือนขาดเกลือแร่ เปลือกเป็นแผลสีดำเมื่อเลี้ยงในน้ำความเค็มต่ำ ตรวจพบเชื้อราเกาะภายนอกลำตัวมากขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมที่เป็นโรคขี้ขาว  

เชื้อไมโครสปอริเดีย (Enterocytozoon hepatopenaei; EHP)

Taxonomy Kingdom​: Fungi Phylum ​: Microsporidia Suborder​: Apansporobltina Family​​: Enterocytozoonidae Genus​​: Enterocytozoon Species​: Enterocytozoon hepatopenaei EHP เป็นเชื้อรา ในสกุล Enterocytozoon เป็นกลุ่มเชื้อที่มักพบและก่อโรคในสัตว์ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ตัวอย่างเช่นในคนที่ป่วยด้วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS) (อ้างอิง Molecular Detection of Human Fungal Pathogens) ดังนั้นระดับภูมิคุ้มกันของกุ้งน่าจะเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการเพิ่มปริมาณของเชื้อ EHP ในกุ้งด้วยเช่นกัน มีรายงานการตรวจพบเชื้อ EHP ครั้งแรกในกุ้งกุลาดำ โดยพบในเซลล์เยื่อบุของท่อตับ (Tourtip,et al. 2009) อวัยวะเป้าหมายของเชื้อ EHP อยู่ที่ตับและตับอ่อนของกุ้ง  

วงจรชีวิตและการติดต่อ

วงจรชีวิตของไมโครสปอริเดียสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะติดเชื้อ (Infective phase) ระยะเจริญ (Proliferative phase) และระยะสร้างสปอร์ (Spore-forming phase) ระยะติดเชื้อเป็นระยะเดียวที่สามารถอยู่รอดได้โดยไม่มีโฮสต์ (Keeling, 2009) เชื้อสามารถอยู่ได้นานถึง 6 เดือนในอุจจาระและซากสัตว์แห้ง และอยู่ได้นาน 1 ปี ในสภาพที่เป็นน้ำเย็น (Kramer, 1970) การเพิ่มจำนวนของไมโครสปอริเดียขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่อุดมด้วยสารอาหารของเซลล์โฮสต์ (Williams, 2009)   สปอร์ของเชื้อจะเจาะผนังเซลล์ (plasma membrane) ของโฮสต์โดยการปล่อยสปอโรพลาสซึม (sporoplasm) เข้าไปภายในไซโตพลาสซึมของเซลล์ ด้วยท่อโพลาร์ (polar tube) Sporoplasm จะเข้าไปเพิ่มจำนวนภายในเซลล์และสร้าง branched plasmodia จากนั้นจะก่อตัวเป็น Spore extrusion precursor ก่อนที่จะสลายพลาสโมเดียมไซโตพลาสซึม (plasmodium cytoplasm) เป็นสปอโรบลาสต์ (sporoblasts) เซลล์เยื่อบุ hepatopancreas ที่ติดเชื้อจะพองตัวและแตกออก ปล่อยสปอร์ที่เจริญเต็มที่เข้าไปที่ตับและตับอ่อนหรือปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมทางอุจจาระ กุ้งที่แข็งแรงจะติดเชื้อจากการกินสปอร์จากอุจจาระหรือการกินเนื้อพวกเดียวกันเอง   Posterior stomach chambers (PSC) ของกุ้งมีโครงสร้างการกรองที่เรียกว่า gastric sieve (GS) ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกรอง โดยจะไม่ให้อาหารที่ผ่านการย่อยแล้วที่มีอนุภาคขนาดใหญ่ผ่าน จะให้อนุภาคขนาดเล็กและสิ่งที่ละลายน้ำได้ผ่านเข้าสู่ hepatopancreatic ducts และส่งผ่านไปยัง hepatopancreas (HP) เส้นผ่านศูนย์กลางของ GS มีขนาดประมาณ 0.2–0.7 µm ซึ่งขนาดของสปอร์ของเชื้อมีขนาดเล็กพอที่จะผ่าน GS และเดินทางไปยัง HP ได้   เชื้อสามารถติดต่อจากการกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ โดยตรงการปนเปื้อนเชื้อในธรรมชาติพบ มากใน แหล่งที่มีการสะสมของ สารอินทรีย์สูง โดยเฉพาะสารอินทรีย์ที่มาจากกิจกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีการให้ อาหารปริมาณมาก และของเสียสิ่งขับถ่ายของกุ้งที่ไม่มีการบำบัดก่อนการปล่อยทิ้งลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ จึงมี ความเป็นไปได้สูงที่เชื้อ EHP จะปนเปื้อนไปกับมูลกุ้ง ลักษณะคล้ายๆ กับการแพร่กระจายของเชื้อ EMS และ บางพื้นที่เป็นที่อยู่อาศัยของแหล่งอาหารธรรมชาติที่มีชีวิตของกุ้งที่สำคัญ เช่น เพรียงทราย เพรียงเลือด  

การติดเชื้อ EHP

การติดเชื้อ EHP จากการศึกษาและเก็บข้อมูลของคลินิกสัตว์น้ำศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาคร พบว่ากุ้งที่ติดเชื้อ EHP ตั้งแต่ระยะวัยอ่อน เช่น นอเพลียส โพสลาวาร์ (PL) หรือกุ้งมีอายุน้อยกว่า 1 เดือน หลังปล่อยลงเลี้ยงในบ่อดิน มีโอกาสที่เชื้อ EHP จะเพิ่มปริมาณในตับมาก ขึ้นจนส่งผลกระทบต่อกุ้ง สังเกตว่าคล้ายๆ กับ EMS หรือโรคตายด่วน ซึ่งในช่วงดังกล่าวกุ้งมีความอ่อนแอ ง่ายต่อการติดเชื้อ และเกิดมีปัจจัยเสริมมาทำให้ระดับภูมิคุ้มกันของกุ้งลดลง ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยิ่งทำให้ปริมาณเชื้อ EHP ในตับเพิ่มปริมาณมากขึ้น จนส่งผลต่อระบบการทำงานของตับ ทำให้กุ้งมีลักษณะโตช้า กล้ามเนื้อขาว หรือติดเชื้อฉวยโอกาสได้ง่าย แต่ถ้าการติดเชื้อเกิดขึ้นในกุ้งโตที่แข็งแรง มักไม่พบแสดงอาการ เชื้อ EHP ค่อนข้างจะจำเพาะกับสัตว์น้ำบางชนิด เช่น กุ้งขาว หรืออาจรวมถึงกุ้งแชบ๊วย แต่ยังไม่มีข้อมูลยืนยันชัดเจนว่ามีผลกระทบรุนแรงต่อกุ้งกุลาดำ หรือกุ้งก้ามกราม ผลของ EHP อาจจะคล้ายๆ กับไมโครสปอริเดีย (Agmasomapenaei) ที่ทำให้เกิดโรคหลังขาวในกุ้งแชบ๊วยที่ชัดเจน แต่พบน้อยมากในกุ้งกุลาดำ คาดว่าการปนเปื้อนของเชื้อ EHP ในเพรียงไม่ว่าจะเป็นเพรียงทราย เพรียงเลือดหรือเพรียงหินที่เกาะบริเวณทุ่นลอย ใบพัดตีน้ำ วัสดุอุปกรณ์ที่แช่น้ำ รวมถึงประตูน้ำ เป็นการปนเปื้อนเฉพาะในระบบทางเดินอาหาร และนอกจากนี้ยังอาจรวมถึงพวกที่อาศัยกินซากพืช ซากสัตว์ สารอินทรีย์ แพลงก์ตอน และรวมสิ่งขับถ่ายของกุ้งจากฟาร์มเพาะเลี้ยงแบบพัฒนาที่ปนเปื้อนเชื้อ EHP และจะติดต่อสู่กุ้งผ่านการกินสัตว์น้ำพวกนี้เข้าไป เชื้อ EHP ถ้ายังไม่เข้าสู่สปอร์สามารถกำจัดได้โดยใช้สารเคมีธรรมดา เช่น คลอรีน ความเข้มข้นประมาณ 30-40 ppm (ขึ้นกับปริมาณสารอินทรีย์ในน้ำ) แต่ถ้าอยู่ในรูปของสปอร์จะกำจัดเชื้อได้ยากมาก อย่างไรก็ตามคาดว่าสปอร์ EHP ไม่มีผลต่อกุ้งถ้าไม่ผ่านการกินเข้าไปพร้อมอาหาร  

การตรวจวินิจฉัยด้วยกล้องจุลทรรศน์

การตรวจวินิจฉัยด้วยกล้องจุลทรรศน์ สามารถตรวจสอบได้ตรงส่วนตับและตับอ่อนโดยเฉพาะในตำแหน่งที่อยู่ติดกับกระเพาะอาหาร โดยการตรวจ EHP ด้วยกล้องจุลทรรศน์จำเป็นต้องใช้ oil immersion (กำลังขยาย 1000 เท่า - 100x) เนื่องจากสปอร์มีขนาดเล็กมาก (ประมาณ 0.7-1 ไมครอน) และอาจต้องใช้เทคนิค PCR เพื่อการตรวจสอบยืนยัน เนื่องจากการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์อาจระบุได้ยากหากไม่ใช่วิธีการย้อมสีเฉพาะ ในกรณีที่ระดับของการติดเชื้อต่ำอาจตรวจไม่พบเนื่องจากการกระจาย EHP ใน HP ที่ไม่สม่ำเสมอ การทำ Squash mount ของ HP โดยไม่ย้อมสีสามารถดูได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบ Phase-contrast สามารถเตรียมสเมียร์เนื้อเยื่อได้ 3 วิธี
  1. Fix slide ด้วย absolute methanol เป็นเวลา 15 นาที และย้อมด้วย Giemsa
  2. Fix slide ด้วย 5% neutral buffered formalin เป็นเวลา 15 นาที และย้อมด้วย haematoxylin and eosin (H&E)
  3. การย้อมสีเฉพาะสำหรับเชื้อ microsporidia - Fix slide ด้วย 100% ethanol เป็นเวลา 10 นาที, ย้อมด้วย Trichome blue เป็นเวลา 90 นาที จากนั้นจุ่มใน acid ethanol 90% ประมาณ 1-3 วินาที และล้างด้วย 95% ethanol จากนั้นนำไปแช่ใน 95% ethanol 2 ครั้ง ครั้งละ 5 นาที นำไปแช่ใน 100% ethanol อีก 10 นาที และแช่ใน xylene-s อีก 2 ครั้ง ครั้งละ 10 นาที